ReadyPlanet.com


ผู้มีปัญญาน้อย


ผู้มีปัญญาน้อยถ้าเจริญสติแล้วจะสามารถรู้ดี ชั่ว ผิด ถูก ได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ วิชัย (wichai3397-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-07-22 06:30:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3223234)

ขึ้นอยู่กับว่าเจริญไปได้แค่ไหน

ผู้มีปัญญามากย่อมเข้าใจคำว่า ดี ชั่ว ผิด ถูก ต่างจากผู้มีปัญญาน้อย

 

ดีที่หนึ่งอาจจะไปเป็นชั่วอีกทีหนึ่ง เช่น ดื่มเหล้าเมืองไทยไม่ดีผิดศีลห้า แต่ที่ยุโรปกลับว่าดีต่อสุขภาพ

ผิดที่หนึ่งอาจเป็นถูกของอีกที่หนึ่ง เช่น บางที่บอกว่าคนเราควรมีคู่ชีวิตเพียงหนึ่ง บางที่กลับบอกว่าถ้ารับผิดชอบไหวสี่ก็โอเค

 

ผู้ที่มีปัญญาจะเป็นผู้ที่ไปพ้นจากเรื่องดีชั่วผิดถูกในตัวเรา ใช้ความรู้สึกตัวเพื่อพ้นจากด้านชั่วแต่ไม่ติดอยู่กับด้านดี ใช้ความรู้สึกตัวเพื่อหลีกจากการทำผิด แต่ไม่ยึดติดอยู่กับการทำถูก

 

ภายนอกการกระทำเปลี่ยนแปลงโอนอ่อนตามสถานการณ์สถานที่ แต่ความรู้สึกตัวภายในไม่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ถูกบังคับให้ตอบความคิดเห็น วันที่ตอบ 2010-07-24 12:21:23


ความคิดเห็นที่ 2 (3226990)

ในความเห็นผมนะครับ :)

ปัญญาในทางโลก ต่างจาก ปัญญาในทางธรรม

ปัญญาในทางโลก ยังอยู่ในกรอบของความคิด การปรุงแต่ง

จะแหลมคม หนักแน่น สว่างไสว ฉับไว แค่ไหน  ก็คงอยู่ในกรอบของการปรุงแต่ง ที่จำกัดในระนาบหนึ่ง

กรอบ หรือ รูปแบบที่จำกัด ทำให้ ไม่อาจก้าวข้าม พื้นฐานที่เป็นที่ตั้งแห่งปัญญา นั้นได้

 

ปัญญา ทางธรรม หรือ   การ "เห็นตามความเป็นจริง"

อยู่นอก กรอบนั้น อยู่คนละระนาบ ของปัญญาทางโลก

ไม่ได้อาศัย การคิด การพิจารณา ไม่ต้องอาศัยข้อมูลหรือ ตรรกะใด

เราอาจไม่ต้องรู้อะไรเลย เพียง "รู้สึกตัว" อย่างเดียว

เพื่อให้ "เห็น" ความจริงที่ปรากฏ ที่เป็นอยู่

สุดท้ายขอฝาก ธรรมจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ไว้นะครับ

"ดูกาย เห็นจิต  ดูความคิด เห็นธรรม"

 

ขอให้เห็นความจริงครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ช่างไฟ วันที่ตอบ 2010-08-03 10:34:11


ความคิดเห็นที่ 3 (3229092)

จำเป็นไหมที่จะต้องเป็นคนมีศีลธรรมหรือศึกษาธรรมะมาก่อนจึงจะบรรลุผลในการปฏิบัติ  ถ้าเริ่มเจริญสติเลยจะทำให้เป็นคนมีศีลธรรมหรือเข้าใจธรรมะได้หรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น วิชัย (wichai3397-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-07 13:09:58


ความคิดเห็นที่ 4 (3229200)

ไม่จำเป็นครับ ที่มันยุ่งทุกวันนี้เพราะพยายามจับสิ่งที่อยู่เหนือกฏไปไว้ใต้กฏ

ส่วนใหญ่ที่ผมสังเกตคนที่มาปฏิบัติที่วัดเป็นคนที่เริ่มรู้แล้วว่า อะไรที่มันได้ผลและอะไรที่มันไม่ได้ผล

ผู้แสดงความคิดเห็น < "=" > วันที่ตอบ 2010-08-08 13:16:49


ความคิดเห็นที่ 5 (3231614)

คนที่ยังไปไม่ถึงจุดหมายก็จะไม่รู้ว่าจุดหมายนั้นเป็นอย่างไร

คนที่ยังไปไม่ถึงจุดหมายก็จะไม่รู้ว่าหลงทางอยู่หรือเปล่า

ถ้าหลงทาง เสียเวลาทั้งชีวิตก็ไปไม่ถืงจุดหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น วิชัย วันที่ตอบ 2010-08-14 18:59:06


ความคิดเห็นที่ 6 (3232053)

ถูกอย่างที่คุณวิชัยกล่าวเลยครับ คนที่ยังไปไม่ถึง จะไม่รู้จุดหมาย ไม่รู้ว่าหลงทาง แต่เพราะความไม่รู้และเต็มไปด้วยการเด็ดเดี่ยวมุ่งเพื่อหาคำตอบในสิ่งที่ไม่รู้นั้น จึงได้เป็นต้นกำเนิดของเหล่านักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย แม้แต่ตัวศาสดาเองมิใช่หรือ

หากจะมัวรอผู้รู้มาชี้ทางบอกเล่าทุกย่างก้าวโดยมิหลงหลุดทางเลย คำว่า ปัตจัตตัง คงไม่มีปรากฏขึ้นบนโลกเป็นแน่ และหากกลัวว่าจะเสียเวลาทั้งชีวิตไปกับการหลงทาง ฉะนั้นอย่าเริ่มออกเดินเสียดีกว่า มีแต่คนโง่เง่าเท่านั้นที่ผิดแล้วมิรู้แก้ไข และผู้ที่โง่ยิ่งกว่าคือพวกที่ ไขว้คว้าแสวงหาสิ่งถูกโดยมิผ่านสิ่งผิด

เพราะบนเส้นทางธรรมต่อให้มีผู้รู้ปรากฏตัวอยู่เบื้องหน้า ด้วยปัญญาที่ไม่แจ้งของเราเอง เราก็มิอาจทราบว่าคำสอนนั้นคือของจริงหรือไม่ จนกว่าเราจะได้พิสูจน์ผลของคำสอนนั้น ถ้าผลของมันทำให้เราเป็น มิใช่เพียงรู้ เราจะรู้ได้เองว่าหลงทางหรือไม่

คำสอนแห่งสัจธรรมนั้นมีอยู่หากแต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีสายตามองเห็น หากมีสายตาเช่นนั้นใช่ว่าจะเจอหัวใจแห่งคำสอนนั้น และผู้ที่จะเจอหัวใจของมันคงไม่ใช่พวกขลาดต่อการพลาดผิดเป็นแน่

ผู้แสดงความคิดเห็น โอ๊ต วันที่ตอบ 2010-08-16 13:10:10


ความคิดเห็นที่ 7 (3236270)

ผมออกเดินทางตามแนวหลวงพ่อเทียนมาระยะหนึ่งแล้วแต่ทางข้างหน้ามืดมน สับสน เลยลังเล สงสัย ว่าตนเองกำลังหลงทาง หรือ

เพราะปัญญาน้อย เป็นบัวเหล่าที่4 ไม่มีวันโผล่ขึ้นรับแสงตะวันได้    ขอผู้รู้หรือผู้ซึ่งถึงจุดหมายแล้วช่วยชี้แนะด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น วิชัย วันที่ตอบ 2010-08-25 11:42:29


ความคิดเห็นที่ 8 (3238145)

ผู้มีปัญญามากมักทำตนเช่นมีปัญญาน้อย

ผู้มีปัญญาน้อยมักแสดงออกว่ามีปัญญามาก

 

เราๆที่ต้องมาฝึกง่วงฝึกเมื่อยฝึกหลง ก็เพราะว่ามีปัญญาน้อยด้วยกันทั้งนั้นมิใช่หรือ

ผู้แสดงความคิดเห็น โอ๊ต วันที่ตอบ 2010-08-29 12:29:11


ความคิดเห็นที่ 9 (3243575)

ขออนุญาตินำส่วนหนึ่งในคำสอนของ พระพุทธยานันทภิกขุ

ในหนังสือ เคลื่อนไหว ไปสู่ความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม  มาพิจารณากันครับ

 

รู้จักประเมินตัวเองให้ถูก

.....ถ้าเราเจริญสติอย่างถูกต้อง

เราจะต้องรู้กำลังของเราให้ได้ก่อน

ถ้ารู้ว่าเรามีปัญญาน้อยเราก็ใช้ความพยายามสูง

ถ้ารู้ว่าเรามีปัญญามาก เราก็ไม่ประมาท

เพราะคนมีปัญญามาก

ถ้าประมาทก็ปฏิบัติไม่ก้าวหน้าอีกเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น การเจริญสติที่จะได้ผลดี

จึงต้องมีส่วนประกอบ และรู้รายละเอียดหลายอย่าง

เพื่อเป็นกำลังช่วยสนับสนุน

เราก็ต้องพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย

ไม่ใช่ว่าเราจะทำไปตะพึด ตะพือ

ทำไปแล้ว มันไม่ถูก ไม่เห็น ไม่เข้าใจ

แล้วก็ท้อแท้ ทอดทิ้งไป แล้วดูถูกตนเองว่าไม่มีวาสนาบารมี

นั้นยังเข้าใจไม่ถูกต้อง.

ผู้แสดงความคิดเห็น ช่างไฟ วันที่ตอบ 2010-09-08 14:59:05


ความคิดเห็นที่ 10 (3257549)

  ต้องจับหลักให้ได้

หลัก คือ สภาพจิตที่เป็นปกติ เป็นฐานของการเรียนรู้กายใจของตัวเอง

สภาพจิตปกติมีอยู่แล้วในคนทุกคน สภาพก่อนหน้าที่กิเลสจะเกิด แต่ถูกละเลยมันไปอย่างรวดเร็ว

อย่างเช่นในขณะที่อ่านอยู่นี้ ยังไม่มีกิเลส เราก็จะำสำรวจพื้นใจในขณะนี้เดี๋ยวนี้ ก็รู้ว่ามันปกติดีอยู่ ยังไม่กิเลสใดๆ เข้ามากระทบ

ในช่วงนี้เอง ที่เราควรทำความแนบแน่น คุ้นเคยกับสภาพปกติธรรมดาๆ นี้ให้มาก และบ่อย

โดยการอาศัยกลวิธีในการปลุกเร้าสภาพจิตปกตินีี้ให้ชัดเจนขึ้นมา โดยการสร้างจังหว่ะที่กายเคลื่อนไหว

รู้ความรู้สึกไหวๆ ของกาย ให้ต่อเนื่องกันไป จนจิตตื่นโพล่ง และมีประสิทธิภาพในการสแกนเห็นสิ่งที่ทำให้จิตผิดปกติ

เมื่อเราคุ้นเคยกับจิตปกติธรรมดาๆ แล้ว ความตื่นตัวก็มีอยู่ และมีอะไรที่เราต้องทำต้องสงสัยอีก เพราะเมื่อสิ่งแปลกปลอมเป็นกิเลส

ต่างๆ กระทบเข้ามา มันจะเห็นสิ่งนั้นชัด และมันจะหลุดไป มันจะไม่เอาเอง.

ผู้แสดงความคิดเห็น หนวดเต่า วันที่ตอบ 2010-11-01 20:33:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.