ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
bulletการปฏิบัติธรรมแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
bulletแผนที่ และการเดินทางมาวัดสนามใน
bulletเว็บแนะนำ
dot
dot
bulletบทสวดมนต์
bulletหนังสือ
bulletCD หลวงพ่อเทียน
bulletVDO หลวงพ่อเทียน
bulletจดหมายจากหลวงพ่อเทียน
bulletคำสอนหลวงพ่อเทียนฉบับย่อ
bulletปัจฉิมโอวาท หลวงพ่อเทียน
bulletCD หลวงพ่อทอง
bullet CD หลวงพ่อทอง
bulletนอกคัมภีร์ เหนือตำรา หลวงพ่อทอง
dot
dot
bulletรายละเอียดต่างๆ วันทอดกฐินสามัคคื ประจำปี 2558
bulletกำหนดงานอบรมแนวหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ ประจำปี 2559
bulletภาพกิจกรรมต่างๆ
bulletข่าวสารปัจจุบัน
bulletภาพการเผยแผ่ธรรมต่างประเทศ หลวงทองฯ
dot
dot
bulletกระดานสนทนา
dot

dot



สาธิตการยกมือสร้างจังหวะ
โดยหลวงพ่อทอง อาภากโร


หลวงพ่อทอง อาภากโร
งานตามรอยหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
ณ วัดสนามใน จ.นนทบุรี
วันที่ 13-15 ก.ย. 2547




สาธิตการสร้างจังหวะ
โดยหลวงพ่อทองฯ



V-012 สัจจธรรมหลวงพ่อเทียน
 

 

 

วีดีโอ เรื่อง สัจธรรม

 

     หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

 

วันนี้เป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม (พุทธศักราช) ๒๕๒๗ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้นจักค่ำแล้วนะนี่ (ขึ้นกี่คำแล้วนะนี่) ขึ้น ๑๐ ค่ำสิ  ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ วันนี้มาประชุมกันในสถานที่นี่ เวลานี้ก็บ่ายสองโมง กับสี่สิบสี่นาที มาพร้อมๆ กัน แล้วประชุมกัน ก็จะพูดอะไรให้ฟัง มีคนบางคนต้องการอยากฟังว่า...  อยากให้พูดเรื่องสัจธรรม         สัจธรรมนี้ ก็หมายถึงของจริง  สัจจะ แปลว่า ของจริง ของแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง       ไม่แปรผัน เรียกว่าสัจจะ ไม่ใช่สัจจะอย่างที่เราเคยพูดว่า เราไปรับศีล ไม่ได้รับศีลแล้ว มันไม่เป็นสัจจะ เสียสัจ อันนั้นมันเป็นสัจจะของคนทั่วไป เรียกว่า เด็กๆ เขาก็รู้ เรียกว่า ปาณา... (คือ) ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ฆ่าสัตว์จะเป็นบาป...นี่ แต่เขาก็ยังฆ่า แต่เขาก็ฆ่านะเนี้ย ไม่ว่าแต่เด็กนะ ผู้ใหญ่ก็รู้ แต่ก็ยังทำได้ไง อทินนา... (คือ) ไม่ให้ลักของคนอื่น ก็เป็นสัจจะเช่นเดียวกัน อันนี้สัจจะที่มันมีอยู่กับโลก เรียกว่า สัจจะสมมติ แต่ยังไม่ได้เป็นสัจจะปรมัตถ์ ให้เข้าใจอย่างนั้น กาเม... มุสา... สุรา... เหล่านี้ แต่พูดกันได้ ก็ยังทำกัน อันนี้ถือว่าสัจจะโดยสมมติ บัดนี้ สัจจะที่พระพุทธเจ้าท่านนำมาสอนนั้น เรียกว่าอะไร บุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ รู้จักการเกิดของท่าน หรืออะไรนี่ ข้อต้นมันที่สุด ผมก็ลืมไปนี่ ถามเมื่อกี้นี้...ลืมแล้ว บุพเพนิวาสานุสสติญาณ บัดนี้...จูตูปปาตญาณ ก็รู้จักว่า เพ่งเล็งถึงจิตใจคนอื่นได้  อาสวักขยญาณ (คือ) รู้จักทำอาสวะให้สิ้น แต่ญาณเหล่านี้มีอยู่ในคนทุกคน ไม่มีการยกเว้น แต่มันมีมาก่อนพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าค้นพบเป็นคนแรก บัดนี้ อะไรที่ๆ... ปฐมยาม ซินะ ปฐมยาม คือ ยามขั้นต้นๆ แต่อาตมาไม่มีความจำ อันนี้ผิด – ถูกก็ขอฝากเพื่อนๆ ผู้ฟังไว้ แต่อย่าไปจับผิด อาตมาขออภัย เพราะจำจากตำรา ดูเมื่อกี้นี้เอง เพราะเราไม่เคยรู้เรื่องนี้น่ะ คือ ปฐมยาม คือยามแรกที่สุด จะเป็นตอนเช้า เราคำนวณเอานะ ตามตัวหนังสือ...ว่า เป็นยามที่เช้า บัดนี้...มัชฌิมยาม ก็ยามกลางวัน ปัจฉิมยาม...ก็ยามสุดท้าย พระพุทธเจ้ารู้ธรรมะ เป็นอย่างนั้น เพราะยามเหล่านั้นมันก็จริง คือ เป็นตอนเช้า หรือกลางวัน หรือจะเป็นตอนเย็น เราก็ไม่รู้ด้วย อันนั้นมันเป็นยามที่พระพุทธได้ตรัสรู้มา บัดนี้คือ ที่เราเคยพูดกันว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ อันนี้เป็นญาณเล็ง มองเห็นสภาพ บุพเพ...ก็หมายถึงว่า ชาติแล้ว ชาติก่อนๆ โน้น...รู้จัก เกิดเป็นอันนั้น เกิดเป็นอันนี้ มองเห็นสภาพความเป็นอยู่...รู้จัก ญาณนั้นน่ะ...มองเห็นว่าเราเป็นทุกข์ เป็นสุขยังไง...รู้ ว่าอย่างนั้น ญาณที่สองเรียกว่า จุตูปปาตญาณ เพ่งเล็งถึงจิตใจคนอื่น เห็นวาระจิตใจคนอื่นทำดี...ทำชั่ว อันนี้ญาณของพระพุทธเจ้า ว่าอย่างนี้...จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ...บัดนี้ มองเห็น รู้จัก ทำอาสวะให้สิ้น คือ อริยสัจจ์สี่ (ได้แก่) ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค  นี่เอง ตามตัวหนังสือว่าอย่างนั้น แต่อาตมาจำไม่ค่อยได้ดีหรอกเด๊เรื่องนี้  บัดนี้ก็เลยเข้ามาพูดเรื่องความเป็นปัจจุบัน พวกท่านทั้งหลายกับพระพุทธเจ้า...อาจจะไม่เหมือนกัน แต่พระองค์นั้น ท่านว่าอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน (เคย)พูดมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต เหมือนกันทุกคนนี่แหละ...สัตว์มนุษย์นี่แหละ ถ้าทำให้ถูกจังหวะ หรือทำเหมือนท่าน ก็ต้องรู้เหมือนท่าน...ท่านว่า เพราะสภาพสภาวะดั้งเดิมของคนทุกคนนั้นเหมือนกันกับท่าน ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว เราไปอุปถัมภ์บำรุงท่าน แล้วท่านจะอนุญาต หรือท่านจะไปนิมิต หรือปรากฏให้ หรือจะแบ่งให้  ให้เอ้า...ให้คนละนิดละหน่อย เอ้า...คนนั้นปฏิบัติมากจะให้รู้มาก คนนี้ปฏิบัติน้อยจะให้รู้น้อย...หรือจะเห็นญาณของตัวเองน้อยมาก อือ..อาจจะเข้าใจอย่างนั้น  เราไปเชื่อความคำนี้อยู่ว่า สัตว์ทั้งหลายจงมีส่วนแห่งบุญของข้าพเจ้า ที่ได้ทำลงไปแล้วนั้น เราไปเชื่อบทนี้ แต่ความจริงแล้ว ความคำนี้มันอาจจะตีความหมายไปลึก คำว่า สัตว์ทั้งหลายจงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำลงไปแล้วนั้น เราไม่ใช่จะมีส่วนแห่งบุญ ได้รับจากพระพุทธเจ้า(ที่)ท่านได้ตรัสรู้แล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว จะให้มีส่วนได้รับบุญอย่างท่าน แล้วก็ไปทำบุญกับท่าน ไปไหว้ท่าน ไปบูชาท่านนั้น อาตมายังไม่เห็นด้วย แต่ว่า...เห็นด้วยกัน แต่ว่าก็ทำมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนทำมาเช่นนั้น เมื่อมาเข้าใจคำพูดคำนี้ อ้อ...จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำลงไปแล้วนั้น...ในบัดนี้ จงมีส่วนแห่งบุญ คือ เราต้องกระทำอย่างท่าน ประพฤติอย่างท่าน ปฏิบัติอย่างท่าน อยู่อย่างท่าน จะมีส่วนรู้เหมือนกันกับท่าน อันนี้ความหมายที่เราพูดเอาเอง...อันนี้ เราพูดอย่างนั้น คือว่า ถ้าไม่ทำอย่างท่าน จะไม่มีโอกาส ไม่มีเวลาที่จะรู้ได้ เพราะว่าท่านได้พูดไว้แล้วว่า สภาพหรือสภาวะดั้งเดิมนั้นเหมือนกันกับท่าน ท่านจึงว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต เราก็เลยว่า...พระตถาคตเจ้า ให้พระพุทธเจ้าเป็นพระตถาคต บัดนี้...พระองค์ว่า สัตว์ทั้งหลายเหมือนกับเราตถาคต ท่านกลับบอกว่าเหมือนกัน ถ้าหากทำเหมือนท่าน ก็ได้รับประโยชน์อย่างท่าน ดังนั้น ที่ว่าญาณ...จุตูปปาตญาณนี้ มองเห็นสภาพหรือภาวะจิตใจของคนนั้นคนนี้ เรามาปฏิบัติธรรมะ มาเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา เพื่อให้รู้จักรูป – นาม...นี่ พูดใกล้ๆ นะ        บัดนี้...เมื่อเรารู้จักรูป – นาม คนอื่นก็มีรูป – นาม เช่นเดียวกัน...ทำไมจึงไม่รู้          ก็เพราะไม่ได้ทำเหมือนท่าน มันก็ไม่รู้เหมือนท่าน เมื่อเราทำเหมือนท่าน เจริญสติ มันก็รู้เหมือนกันกับท่าน มันก็มีรูป มีนาม เช่นเดียวกัน บัดนี้...คนอื่นก็มีรูป – นาม...บัดนี้ เห็นรูป เห็นนาม รูปทำ – นามทำ...บัดนี้ เอ๊ะ...พระพุทธเจ้าก็มีรูปทำ – นามทำ เราก็มีรูปทำ – นามทำ พระพุทธเจ้าก็มีเกิดแล้วก็ตาย เป็นรูปโรค – นามโรค เจ็บหัว      ปวดท้องเป็นโรคใช่ไหม...เหอะ เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานเป็นโรคไหม หรืออะไร นี่...ท่านก็เป็นโรค ก็ตายเหมือนกัน...บัดนี้ บัดนี้...ยามตั้งแต่ก่อนๆ โน้น ก็มีชอบ       มีเกลียด มีรัก มีพอใจ มีไม่พอใจ ท่านก็มี...แต่ก่อน แต่เมื่อยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า เราก็มีเหมือนกัน...บัดนี้ จึงว่า...สภาพหรือสภาวะดั้งเดิมเหมือนกัน เมื่อเราทำเหมือนกับท่าน ก็จะรู้เหมือนกับท่าน อันนี้ถ้าจะพูดไปก็ยาวนะ บัดนี้...เมื่อรู้จัก       รูปโรค – นามโรค แล้ว ก็รู้จักสภาพหรือสภาวะ ทุกขัง – อนิจจัง – อนัตตา...นี่ เราก็มีเหมือนกันกับท่าน อาตมาเคยพูดบ่อยๆ แต่ไม่ได้พูดเอาขนาดนี้ เพราะว่า...วันนี้มีคนต้องการอยากให้พูดโดยสัจธรรม ก็เลยเอาเรื่องสัจจะ ความจริง...มาพูดสู่กันฟัง  นี้แหละ...ที่เราไม่เข้าใจว่า เมื่อท่านรู้ทุกขัง – อนิจจัง – อนัตตา ท่านมองเห็นสภาพหรือภาวะ...มันเป็นทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็เลยรู้สมมติ แล้วเอาสมมติมาพูดขึ้น ถ้าไม่พูดสมมติแล้ว มันไม่มีประตูใดที่จะมาพูดได้ ก็เลยยืมเอาสมมติของโลกมาพูด เรียกว่า สมมติบัญญัติ ปรมัตถ์บัญญัติ อรรถบัญญัติ อริยบัญญัติ...นี่ สมมติบัญญัตินั้น    คนทั่วไปเรารู้ว่า  ปาณา... (คือ) ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์  อทินนา... (คือ) ไม่ให้ลักของ คนอื่น กาเม... (คือ) ไม่ประพฤติผิดในกาม มุสา... สุรา... ไปอย่างนั้นแหละ...ศีลห้า  บัดนี้...ศีลแปด ก็ วิกาละโภ... (นัจจะคีตะ...) อุจาสะยะ... ก็รู้ไปตามที่เราเคยพูดกัน อันนั้นเป็นสัจจะโดยที่ว่า...คนทั่วไป เราตั้งขึ้นมา เรียกว่า...โดยสมมติ สมมติสัจจะ ปรมัตถ์ เรียกว่าจริงโดยสมมติ...บัดนี้ อรรถะ...บัดนี้ เมื่อพระองค์มาเห็นสภาพหรือสภาวะจิตใจของพระองค์ เอ้อ..ทำอย่างนี้เราชอบใจ เมื่อเราทำอย่างนี้กับคนอื่น  คนอื่นก็ชอบใจ...นี่ คนอื่นก็มีชอบใจเหมือนกันกับเรา เราก็มีการชอบใจเหมือนกับคนอื่น อันนี้เขาเรียกว่า คนยังไม่รู้...มันต้องเป็นอย่างนี้ เรียกว่า ปุถุชน...นี่ ยังไม่มีญาณเกิดขึ้น ก็มันเป็นอย่างนั้น...ก็มองเห็น พระองค์ต้องเห็นของพระองค์แล้ว...จึงจะไปมองเห็น(ของ)คนอื่นได้ เอ๊ะ..ทำอย่างนี้เราเกลียด คนอื่นทำ...ก็เกลียด แม้เราทำกับคนอื่น...คนอื่นก็เกลียด  คนอื่นทำเรา...เราก็เกลียด อ้อ...สภาพสภาวะดั้งเดิมมันเป็นอย่างนี้ เรียกว่า พระองค์รู้จิตใจและวาระจิตใจของคนอื่น แต่ไม่ใช่จะไปมองเห็นอย่างที่เราพูดกันนะ พระองค์นั่งอยู่นี่ ต้องมองเห็นสภาพหรือภาวะจิตใจของคนนั้นคนนี้ นี่...มองเห็นอย่างนั้น อันนั้นเป็นการเข้าใจของคน แต่พระองค์ต้องมองเห็นจิตใจของพระองค์ว่า เอ้อ..นี่ สัตว์ทั้งหลายเหมือนกันกับเรา ไม่ว่าจะเป็น คนรวย คนจน ไม่ว่าจะเรียนหนังสือมากๆ หรือไม่ได้เรียนมากๆ ก็ตาม เอ้..สภาพภาวะอันนี้มันมีในคน จะเป็นคนไทย คนจีน ให้ว่าทุกชาติ ทุกภาษา แม้เป็นผู้หญิง   ก็ตาม ผู้ชายก็ตาม อาตมาก็ได้พูดเอาสั้นๆ ว่า บริษัทสี่ คือ ผู้หญิง -  ผู้ชาย        ภิกษุ – ภิกษุณี อุบาสก – อุบาสิกา สองคน...เป็นสองบริษัทนี่เอง เพราะผู้หญิงก็มีอย่างเรานี้ ผู้ชายก็มีอย่างเรานี่ มีพอใจ – ไม่พอใจ ชอบ – เกลียดชัง นี่...มันเป็นอย่างนี้ จึงว่า...นี้แปลว่า สัจจะ คือของจริง อันนี้ก็โดยอรรถ นี่ว่า...อริยบัญญัติ คือ จะรู้อันนี้...ก็ต้องเป็นอริยบุคคล ทำให้จิตใจล่วงจากภาวะอันนั้นขึ้นมา ก็เลยรู้ เข้าใจ บัดนี้...ก็รู้จักตัวศาสนา  ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนของท่านผู้รู้  คนผู้รู้ธรรมจริงๆ มาสอน คนผู้ที่ไม่รู้มาสอน...บัดนี้ (มัน)ผิดกัน อาตมาก็เลยพูดให้ฟังเอาว่า              พุทธศาสนา คำสอนของพระตถาคตเนี่ยจะเสื่อมสูญ หรืออันตรธานหายไปนั้น ก็ต้องมีสี่คน แต่(มี)สองคนนั่นแหละ...มีสี่คำพูด คือว่า หนึ่ง...บุคคลที่ไม่รู้ แต่เที่ยวเทศน์ เที่ยวสอน นี่...ไม่รู้ก็สอนได้ เพราะไปจำเอาจากตำรับตำรามาพูด อันนี้เมื่อ ผิด – ถูก...ไม่รู้ แสดงว่าคนนี้อาจจะทำลายคำสอนของพระพุทธเจ้า...โดยไม่รู้สึกตัว เพราะไม่รู้ก็ไปสอน เพราะเป็นการคาดคิด อันนี้บริษัทหนึ่งนะเนี่ย บริษัทที่สอง...ไม่รู้ แต่ไม่สอน...เฉย บริษัทนี้ก็ไม่ทำลาย แต่ไม่ทำให้เจริญ เฉยๆ...บริษัทนี้ กินข้าวไปอย่างที่เราๆ เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ พระสงฆ์องค์เจ้านี่ วันนี้ก็ต้องพูดเข้าเนื้อตัวเองบ้าง...เป็นอย่างนั้น บัดนี้ บริษัทที่สาม...รู้ รู้ดีแล้ว แต่ไม่สอน เอาตัวหลบหลีก ไปลี้อยู่ที่นั้นที่นี้ เข้าป่า เข้าดง พระกรรมฐานเดี๋ยวนี้ก็มีนะ องค์ที่รู้(แต่)ไม่อยากสอน บริษัทนี้ก็ไม่ทำให้พุทธศาสนาเจริญ แต่ไม่ทำให้เสื่อม ไม่สอนคน แต่เฉพาะเจริญแต่เรา   คนเดียว บริษัทนี้ก็ยังดีอยู่น้อย...นิดเดียว แต่ไม่ถึง(กับ)ทำลาย แต่บริษัทนี้ก็ยัง     ไม่แน่นอน บริษัทคนที่สี่... คือว่า รู้แล้ว ต้องเทศน์ ต้องสอน เมื่อไม่เทศน์ ไม่สอน...คนก็ไม่รู้ บริษัทนี้ดี ทำให้พุทธศาสนาเจริญก้าวหน้าได้ จึงว่า...บริษัทสองคนเท่านั้นเอง เมื่อจัดเป็นบุคคล สี่คู่แปดบุรุษ นี่...เราเข้าใจกันอย่างนี้ ดังนั้น...จึงว่า       คำสอนของพระพุทธเจ้าน่ะจำเป็น ก็มันมีอยู่อย่างนี้ เรียกว่า สัจธรรม สัจจะ แปลว่า ของจริง  ถึงจะรู้...ไม่รู้ ก็มีอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญเพียรตัวของท่านเอง ท่านปฏิบัติตัวของท่านเอง ท่านก็เลยรู้ เมื่อท่านรู้แล้ว เราตถาคตไปถึงแล้วแห่งนั้น เรา...บัดนี้ เราตถาคตไปถึงแล้วแห่งนั้น ไปถึงที่ไหน...เราก็ไม่รู้  ไปถึงแล้วแห่งนั้นล่ะที่นี้ เมื่อเรายังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ เราก็มืดบอด วกวนอยู่เช่นเดียวกัน เมื่อเราตถาคตไปถึงมาแล้วแห่งนั้น ก็นำมาสอนพวกเธอนะ เธอทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต...บัดนี้ บัดนี้...ทีแรกว่า เราทั้งหลายไปถึงแล้วแห่งนั้น บางทีอาจจะไม่เคย ได้ยินอย่างนี้ก็ได้นะ หรือบางทีอาจจะได้ยินได้ฟังไว้แล้ว จดจำไม่ได้ ลืมก็มี          สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต เราก็เลยว่า(เป็น)พระตถาคตเจ้าไปเลย พระพุทธเจ้า   ท่านว่า สัตว์ทั้งหลายเหมือนเราตถาคต มันกลับกันอย่างนี้ ดังนั้นพวกเรามา    เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญาที่นี่ ที่หลวงพ่อพูดกันว่า อยากให้ตั้งใจทำ...ลองดู มันจะมีญาณอย่างที่พระพุทธเจ้า...หรือไม่มี พระพุทธเจ้าท่านมีญาณ ญาณอันนี้มันมีอยู่ในพระองค์ คำว่าพระองค์นี่ เรารู้จักศาสนากับพุทธศาสนาแล้ว...ต้องรู้ ศาสนา คือ คนทุกคนนั่นแหละ  พุทธศาสนา คือ ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญา...ที่มีอยู่ในคนทุกคน ไม่มียกเว้น อาตมาเคยท้าทายไว้อย่างนี้ แต่ไม่ใช่อาตมาเป็นผู้รู้นะ (หรือ)เป็นพระพุทธเจ้านะ อาตมาเข้าใจซาบซึ้งตรึงใจว่า โอ...พุทธศาสนา หมายถึง ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญา...เข้าไปรู้สภาพหรือภาวะอันนี้ แน่ะ จึงว่า...เราตถาคตไปถึงแล้วแห่งนั้น เมื่อไปถึงแล้ว ก็นำมาสอนคน บัดนี้...บริษัทที่จะทำให้พุทธศาสนาเจริญ คือว่า รู้แล้วต้องไปเทศน์ ไปสอน จึงว่าเป็นพระ พระจึงแปลว่าผู้สอนคน     คนทำผิดต้องสอนเขา อันนั้นมันผิด อันนี้มันถูก ไม่ใช่ว่าจะไปสอนเขาว่า เออ...ผิดก็แล้วไป ถูกก็แล้วไป กูได้เงินแล้ว...เอา ไม่ใช่อย่างนั้น หรือกูได้กินอาหารดีๆ แล้ว แล้วอย่างนั้น...ไม่ใช่อย่างนั้น แต่เขาทำผิด...ก็ต้องบอกว่ามันผิด เขาทำถูก...ก็บอก เออ..นี่ถูกแล้ว ก็ต้องบอกอย่างนั้น ดังนั้น...พุทธศาสนาของเราทุกวันนี้เจริญน้อย  ไม่เจริญมาก เพราะคนรู้ไม่ค่อยสอน หรือบางทีอาจจะเป็นคนไม่รู้ไปสอน ก็เลยไม่ได้เข้าใจสัจธรรม นี้แปลว่าของจริง  สัจจะ แปลว่า ของจริง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรผัน ถึงจะมีผู้รู้ก็ตาม ไม่มีผู้รู้ก็ตาม ถ้าหากมีคนอยู่แล้ว...มี คนไทยก็มีอย่างนี้ คนจีนก็มีอย่างนี้ คนไทยก็เป็นอย่างนี้...เป็นอย่างนั้น คนจีนก็เป็นอย่างนั้น คนฝรั่งเศส       คนอังกฤษ คนอเมริกา คนเขมร คนญวน คนลาว คนเยอรมัน หรือเราไปดูคนอินเดียน่ะ คนแขกน่ะ...ก็เหมือนกัน นั้นจึงว่า...พระองค์จึงว่า สภาพหรือสภาวะดั้งเดิมเหมือนกัน ไม่ผิดกัน ผิดกันแต่ว่า สูง – ต่ำ ดำ – ขาว และปัญญาน้อย – มาก...ไม่เหมือนกัน เรียนรู้มาก – เรียนรู้น้อย...ไม่เหมือนกัน มีเงินมีทองไม่เหมือนกัน อันนั้นไม่เหมือนกัน...ปัญญาเหล่านั้น แต่สภาพหรือภาวะอันนี้น่ะ...มีเหมือนกันทุกคน   ให้เข้าใจอย่างนี้ เรียกว่าสัจธรรม แปลว่า มันมีอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่มีการยกเว้น แต่ว่า...สำคัญ(ว่า)บุคคลนั้นจะทำให้รู้ หรือไม่ทำให้รู้...เท่านั้นเอง หรือบุคคลนั้น   จะทำให้ปรากฏขึ้นมา หรือไม่ทำให้ปรากฏขึ้นมา เมื่อเจริญให้ได้สัดส่วนแล้ว ญาณเหล่านั้นจะปรากฏขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ ท่านจึงว่า...ธรรมชาติมันสร้างให้เอง ท่านว่า...ธรรมชาติมันสร้างให้เอง เดี๋ยวนี้...เรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้นี่ สบายไหม ก็สบายดีนี่ ธรรมชาติมันสร้างให้เอง เพราะเรานั่งให้สบาย มันก็ต้องสบาย...อย่างนี้ บัดนี้เราไปนั่งอยู่ที่คลุกคลี...บัดนี้ สบายไหม มันก็ธรรมชาติสร้างให้อย่างคลุกคลีนั่นเอง ดังนั้น...พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรารู้สภาวะหรือสภาพของจิตใจของเราทุกคน เมื่อเรารู้สภาพหรือสภาวะจิตใจของเราแล้ว สภาพหรือสภาวะจิตใจของคนอื่นก็เหมือนกันกับเรา ท่านจึงว่า...สภาพสภาวะดั้งเดิมเหมือนกันหมดทุกคน ท่านสอนอย่างนี้     ดังนั้น...ท่านจึงสอนว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต เมื่อไม่ได้ยินอย่างนี้...ไม่เข้าใจ  สัตว์ทั้งหลายเหมือนกับเราตถาคต แต่เราตถาคต...ตอนที่พระองค์ว่า เราตถาคต   ไปถึงแล้วแห่งนั้น แล้วก็มาสอนพวกเรา แต่ต้องทำอย่างนั้น...จึงจะรู้ ท่านว่า ท่าน จึงว่า...สอน ที่ทำผิด...ก็บอกว่าผิด ที่ท่านมายกย่องเอาเรื่องการเจริญสติ เพราะทำอย่างอื่น...ท่านทำมาแล้ว อดข้าว อดน้ำ ท่านก็ทำมาแล้ว ไม่กินข้าว ไม่พูดไม่คุย ไม่กินน้ำ ท่านก็ทำมาแล้ว ท่านบอกว่า...นั้นมันไม่ใช่ถูกต้อง ท่านก็ว่าอย่างนั้น แต่เราก็ยังนำมาสอนกันว่า...เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า การให้ทาน รักษาศีลนั้น...มันดีแล้ว อันนั้นก็ทำไปเถอะ แต่ว่ามันไม่ใช่เป็นทางดับทุกข์ มันไม่ใช่เป็นทาง      แก้ทุกข์ แต่พระองค์ว่า...ทำอย่างนั้นก็ดีอยู่แล้ว เพราะยังเป็นการเสียสละ ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ แต่ตอนที่พระองค์ยกย่องว่า...ทำให้พระองค์ได้พ้นจากอาสวะ และรู้จักวิธีดับอาสวะนั้น คือว่า พระองค์ได้มาเจริญสติ กำหนดการเคลื่อนไหวของอิริยาบถของท่านเอง ท่านปฏิบัติตัวท่านเอง และก็มาดูสภาพหรือสภาวะของจิตใจของท่านเอง ท่านก็ดูจิตใจของท่านเอง ท่านไม่ได้มองเห็นถึงว่า...คนนั้น คนนี้ เมื่อท่านดูสภาพอย่างนี้ มันก็เลยไปถึงที่สุดแห่งทุกข์ เป็นวิธีที่ทำอาสวะให้สิ้น ท่านก็เลย อ้อ..อย่างนี้ ทุกคนมันมีเหมือนกันกับเรา ท่านก็ว่าอย่างนั้น เราไปถึงแล้ว...บัดนี้ แล้วทุกคนทำอย่างเรา ต้องรู้อย่างเรา ไม่ทำอย่างเรา จะไม่รู้อย่างเรา รู้อย่างอื่นไปไม่ได้ ถ้าทำอย่างนี้แล้ว รู้อย่างอื่นไปไม่ได้ มันต้องรู้อย่างนี้ ต้องเข้าใจอย่างนี้ อันนี้พระองค์ตรัสไว้ แต่ว่าเราไม่เห็นตัวหนังสือ แต่เราฟังมา...แน่ะ ที่ความจริง...นี่เรียกว่า สัจจะ คือ ของจริง ของแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรผัน จะมีผู้รู้ก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีผู้รู้ก็เป็นอย่างนี้ (พวก)เราเดี๋ยวนี้มีแล้ว เดี๋ยวนี้นี่ แต่ญาณนั้นยังไม่ปรากฏ เมื่อญาณยังไม่ปรากฏ เราก็เลยไม่มี ดังนั้น...เมื่อเราเจริญไปถูกสัดส่วนแล้ว มันจะปรากฏตัวมันขึ้นมาเอง เมื่อมันปรากฏตัวมันขึ้นมาเองแล้ว ไม่ต้องถามใครที่ไหนเลย เราก็รู้ อ้อ..ที่เรารู้ว่า พระพุทธเจ้าตัดผมครั้งเดียว หมายถึงอันนี้...อันนี้ แน่ะ...เราก็ต้องรู้อย่างนั้น อันนี้ของจริง...มีอยู่ในคนทุกคน ไม่ยกเว้นเลย ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี เด็กก็มี คนแก่ก็มี คนหนุ่มคนสาว...มีหมดทุกคน แต่ว่าคนเหล่านั้นจะทำหรือไม่ทำ คนจีนก็เป็น...มีเหมือนกัน คนไทยก็เป็น...มีเหมือนกัน คนฝรั่งเศส คนอังกฤษ       คนอเมริกา คนเยอรมัน ทุกชาติ ทุกภาษา...มีเหมือนกัน  ไม่ใช่มีแต่คนอินเดีย      คนเดียว อันนี้มันเป็นของจริงอย่างนั้น จึงว่า...ยอมเสียสละทรัพย์ เพราะรักษาอวัยวะ ยอมเสียสละอวัยวะ เพราะรักษาชีวิต ยอมเสียสละชีวิต เพราะรักษา      สัจธรรม เพราะพระองค์ไปรู้แล้ว จึงว่า...ยอมเสียสละทุกอย่าง ขอให้ความจริงเนี่ยปรากฏ เกิดขึ้นมาในจิตใจของคนทุกคนในวาระใดวาระหนึ่ง อันนี้แปลว่า พูดกันด้วยความจริงใจ ถ้าไม่พูด...มันก็เลยไม่เข้าใจกัน ดังนั้น...การพูดวันนี้ ไม่ใช่ว่าเป็นคนอวดดี แต่ยืมเอาความดีของพระพุทธเจ้ามาพูดสู่กันฟัง ที่อาตมาพูดกับตำรับตำรานั้น ที่อาตมากล้าไม่... รับรองไม่ได้ เพราะว่า...ยืมคำพูดกับของคนอื่น ถ้าเราไปยืมเอาคำพูดของพระพุทธเจ้าจริงๆ แล้ว กล้ารับรองได้ พระองค์ต้องสอนจริง แต่ก็รู้จริงๆ อีกซะด้วยนะ เพราะว่า...วาระสามครั้ง คือว่า จะเป็นตอนเช้า หรือกลางวัน หรือเย็น ไม่กำหนดกาลเวลา จึงว่า...อะกาลิโก (แปลว่า) ไม่ประกอบกาลและเวลา จะเป็นระยะใด เวลาใดก็ได้ แต่ว่าให้เราเจริญจริงๆ ทำให้ได้สัดส่วนมันจริงๆ เมื่อเจริญจริงๆ ได้สัดส่วนมันจริงๆ แล้ว นั่นแหละ...จะปรากฏขึ้นมา เหมือนกับเราเพาะผลไม้ เอาผลไม้ไปปลูกลงในดินเนี่ย เมื่อได้ความอบอุ่น ชุ่มเย็นมันพอดีแล้ว มันจะแตกดอก แตกเมล็ด แตกหน่อขึ้นมา อันนี้อาตมามันเสียงไม่ค่อยดี มันแตกหน่อมันขึ้นมา...ว่าอย่างนี้ก็ได้ ขอพูดภาษาบ้านเรานิดเดียว เอาเมล็ดข้าวนี่ไปปลูกลงในดิน มันแตกขึ้นมาเอง ถึงเวลามัน มันแตกขึ้นมาเอง แต่เป็นเมล็ดข้าวลีบแท้...มันบ่แตก (ไม่แตก) เมล็ดข้าวเจ้าก็แตกออกมา ออกหน่อคือกัน (เหมือนกัน) เมล็ดข้าวเหนียวก็ออกหน่อคือกัน เมล็ดข้าวอะไรก็ออกหน่อหมดทุกเมล็ด แต่     ข้าวลีบแท้บ่ออก บัดนี้...เมล็ดข้าวอ้วน ข้าวเต็ม...บัดนี้ ครั้นเอาไว้ในยุ้งในฉาง บ่ไปเพาะ(ลง)ดิน...(ก็)บ่ออก คนเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่เจริญจริงๆ แล้ว...ไม่รู้ อันนี้เป็นของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ ดังนั้น...เราเป็นชาวพุทธ อย่าเข้าใจว่าเราทำบุญ ให้ทาน รักษาศีลแล้ว จะได้รับมรดกตกทอดมา ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไปแล้วนั้นว่า สัตว์ทั้งหลายจงมีส่วนแห่งบุญ ที่ข้าพเจ้าได้กระทำลงไปแล้วในบัดนี้ อันนั้นเป็นคำพูด แต่ความจริงว่า สัตว์ทั้งหลายจงมีส่วนแห่งบุญ ที่ข้าพเจ้าได้กระทำลงไปแล้วในบัดนี้ จงมีส่วนการเจริญสติวิธีใดวิธีหนึ่ง...ที่พระองค์สอนเอาไว้ เป็นคำรับรองของพระองค์ ถ้าเราทำแล้ว...สิ่งนั้นจะปรากฏขึ้นมาเหมือนกันกับพระพุทธเจ้า จึงว่า...สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าน้อยๆ ตาม เรียกว่าสาวกพุทธะ เราเคยพูดกันว่า สาวกพุทธะ ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ล่วงหน้าไป...พระพุทธเจ้า ธรรม อันนี้จะรู้ล่วงหน้าไม่ได้ เมื่อมันปรากฏขึ้นมาก็ต้องรู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง             จะรู้...คาดคิดเอาไม่ได้ เราเรียนหนังสือตำรามากๆ ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ อันนั้นเป็นการคาดคิดเอา พระองค์ตรัสไว้แล้วว่า เรื่องกาลามสูตรเนี่ย อย่าเชื่อถือโดยเขาอะไร... พูดตามๆ กันมาเนี่ย พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อเลย อย่าเชื่อถือโดยเขาเล่าลือกันมา ว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อเลย อย่าเชื่อถือโดยเห็นว่ามันมีอยู่ในตำรับตำรา พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อเลย อย่าเชื่อถือโดยที่ว่า อะไรนะ...สิบข้อ อาตมาจำไม่ได้แล้ว เพราะมันไม่ได้เป็นหัวตำรับตำราอะไรแล้วเนี่ย...มันจำไม่ได้ ถึงพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ให้เชื่อ เรา...บัดนี้ เราไปแปลหนังสือ คาดคิดเอา ดลเอาว่า...ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น อยู่หน้าที่เท่านั้น บรรทัดที่... เอ้า...จำได้ ท่านก็ยังบอกว่า...ลักของเขาหนึ่ง นี่ท่านสอนไว้ เสพเมถุนหนึ่ง ลักของเขาหนึ่ง ฆ่าสัตว์หนึ่ง พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่ไม่มีในตน...นี่ท่านว่า นี้ขาดจากการเป็นภิกษุ เป็นภิกษุในบวรพุทธศาสนาไม่ได้ ภิกษุแปลว่า ผู้กลัว ผู้เห็นภัย เดี๋ยวนี้  ไม่กลัวเลย ไม่เห็นภัยเลย เทศน์สอนกันไปเรื่อย ๆ ไปเลยนี่ มันเป็นอย่างนั้น จึงว่า...เราทุกคน วันนี้ก็ต้องพูดกันเรื่องสัจธรรม ทำตัวของเราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าจริงๆ ถ้าหากเรารู้จริงๆแล้ว...สอนได้ พระจึงแปลว่าผู้สอน จึงว่า...สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้วนี่         สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว ถ้าสมควรแล้ว ก็ต้องไม่หลง ใครจะพูดยังไงก็ไม่เชื่อ           เชื่อความรู้ความเห็นของตัวเอง ท่านให้เชื่ออย่างนั้น  ดังนั้น ที่อาตมานำมาพูดให้ฟังนี้ ในตำรา...หนังสือธรรมวิจารณ์บอกว่า...ผู้ใดเจริญสติปัฏฐานสี่อย่างถูกต้อง ให้ติดต่อกันเหมือนลูกโซ่ คำว่าติดต่อกันเหมือนลูกโซ่...ต้องทำไม่มีเวลาว่าง อย่างนานเจ็ดปี อย่างกลางเจ็ดเดือน อย่างเร็วที่สุดนับตั้งแต่หนึ่งวันถึงเจ็ดวัน หรือสิบห้าวัน มีอานิสงค์สองประการ ท่านว่าอย่างนั้น หนึ่ง...เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันภพนี้ หากไม่ได้เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันภพนี้ ท่านว่า...เป็นพระอนาคามี ตัวหนังสือว่า อย่างนั้น แต่ที่นี่...อาตมารับรองคำพูดของพระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้บทนี้ว่า ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานสี่ให้ถูกต้อง คำว่า... เอาอันถูกต้องนะ อันไม่ถูกต้อง...ไม่เอา เอาอันถูกต้อง ไม่ใช่ว่าเอาชอบใจ เอาอันถูกต้อง ถูกต้องที่พระองค์ทำนั่นแหละ...ที่อาตมาพูดนี่ ท่านตรัสไว้เจ็ดปี เพราะว่าคนเกียจคร้าน ไม่ขยันเหมือนตัวพระองค์ทำ ท่านทำหกปี แต่บัดนี้อาตมายืนยันรับรองว่า เอ้า...ให้เจริญสติปัฏฐานสี่แบบเคลื่อนไหวนี่ เอ้า...รับรองได้สามปี สามปี...อานิสงค์ไม่ต้องพูดเลย อย่างนานสามปี              อย่างกลางให้เวลาหนึ่งปี และอย่างสั้นที่สุดหรือกะทัดรัดที่สุด...ให้เวลาสามเดือน หรือเก้าสิบวัน ทำให้ติดต่อกันจริงๆ ไปไหนมาไหนให้รู้สึกจริงๆ เอ้า...ไม่ต้องมาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์หรอก...อันนี้ แต่ทุกข์นั้นจะลดน้อยไปจริงๆ จึงว่า...รู้จัก                 อาสวักขยญาณ รู้จักวิธีทำให้ทุกข์น้อยหรือหมดไปได้ อันนี้เป็นความจริง              เรียกว่า สัจธรรม เอาแหละ..วันนี้ที่อาตมาได้นำธรรมะ คำสอนขององค์สมเด็จ                    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเล่าเรื่องสัจธรรมให้ฟังเพียงสั้นๆ หรือย่อๆ ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลาแล้ว อาตมาพร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยม มานั่งฟังธรรมะอยู่ ณ สถานที่นี้ อาตมาขออ้างอิงเอาคุณของพระพุทธเจ้า และพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และคุณของพระอรหันตสาวกของ                         พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเตือนจิตสะกิดใจของพวกเรา ให้พวกเราได้เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา...อย่างถูกต้อง คือพระองค์นั่นแหละว่า ทำเหมือนกับพระองค์นั่นแหละ ให้ได้รู้ ได้เห็น ได้เข้าใจ จึงว่า...สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าน้อยๆ ตามไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน...ให้เราไปพบ         ไปเห็นเอา (ใน)ช่วงระยะเวลาอันใกล้ คือในชีวิตนี้ จงทุกท่านทุกคนเทอญ สาธุ.

 

โยม:                     กราบนมัสการเรียนถามว่า ถ้าจะสอนให้เด็กเจริญสติ ควรจะอย่างต่ำอายุเท่าไหร่คะ

 

หลวงพ่อเทียน:   ที่อาตมาสอนมา อายุเก้าปี

โยม:               ต่ำกว่านี้ได้ไหมคะ

 

หลวงพ่อเทียน:   ก็ไม่ทราบ เพราะเรายังไม่เคยทดลอง อาจจะได้ซิ ได้ยินว่า ราหุล อายุเจ็ดปี...ว่าอย่างนั้นนี่ ได้ยินตำรานะ ว่าอายุของราหุล ไปเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา อายุเจ็ดปี ได้ดวงตาเห็นธรรม...ว่าอย่างนั้น แต่ว่าอาตมายังไม่รู้ อันนี้เห็นธรรม ไม่เห็นธรรม...ก็แล้วแต่ละ แต่ว่าอายุเก้าปีนี้...เขาจะรู้ว่า เขาจะไม่ทำผิด เขาจะรู้ว่า เขารู้แนวทางของพระพุทธเจ้า จะเป็นผู้หญิงก็ได้ ผู้ชายก็ได้ นี้ทดลองมาแล้ว

 

โยม:               ข้อต่อไป ในการเจริญสตินี้ ควรจะนั่งอยู่ในที่สงบหรือว่าอยู่ในสถานที่ทั่วๆ ไป หรือว่าเหมือนกับที่เราทำงานน่ะค่ะ เพราะว่า เราจะต้องไปประยุกต์ใช้กับที่ทำงาน เพราะฉะนั้น เวลาเจริญสติเนี่ย ควรจะเจริญสติอยู่ในสภาพของที่ทำงานรึป่าวคะ

 

หลวงพ่อเทียน:   อยู่ที่ไหนก็ได้ เรื่องการเจริญสติ ไม่เป็นปัญหา

 

โยม:              ไม่ค่ะ คือ สถานที่ไหนจะทำให้เราทราบผลได้เร็วกว่ากันคะ

 

หลวงพ่อเทียน:    จะไปหาสถานที่ที่ไหน อย่างกรุงเทพฯ นี่ มันจะสงบได้ที่ไหน มันก็ในเมืองนี่ อย่างที่เรา... อย่างที่วัดสนามในนี่ เข้ามาแล้วมันสบาย อันนี้ธรรมชาติมันสอนให้...อันนี้ แต่เราจะมาทำงานที่นี่มันไม่ได้ เพราะมันไม่มีงาน แล้วก็ทวน มาฝึกหัดเท่านั้นเอง จะไปฝึกหัดที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้ว่า...บุคคลที่จะสอนน่ะ...เขาจริงไหม เท่านั้นเอง ถ้าบุคคลที่สอนจริง อยู่ที่ไหนก็จริงได้ ท่านก็ว่า...มันไม่สำคัญกับสถานที่ สำคัญคนที่(มา)แนะแนว แต่ว่า...คนที่แนะแนวก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ตัวเราอีกแล้ว...นี่สำคัญ เราจะเอาจริง หรือไม่จริงเท่านั้นเอง

 

โยม:              กราบขอบพระคุณค่ะ

 

…………………………………………………………

 

 

ถอดเสียงวิดีโอโดย คุณอภิลดา  โอเจริญ

ตรวจสอบแก้ไขโดย คุณอุ้ม

 

 




วัดสนามใน

สอบอารมณ์
ธรรมะ หลวงพ่อทอง
หลวงพ่อทอง อาภากโร สาธิตการสร้างจังหวะ ยืน เดิน นั่ง นอน
วัดสนามใน



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

วัดสนามใน
ที่อยู่ :  เลขที่ 27 หมู่ 4    ตำบล : วัดชลอ   อำเภอ : บางกรวย
จังหวัด : นนทบุรี      รหัสไปรษณีย์ : 11130
เบอร์โทร :  02-0094853, 0-2883-7251, 087-5756275      โทรสาร :  0-2883-7275
อีเมล : info.watsanamnai@gmail.com
เว็บไซต์ : http://www.watsanamnai.org
facebook: https://www.facebook.com/Sanamnai/